ASBUILDแบบบ้านสวยคุณภาพดี
  • Home (current)
  • We Offer
  • About Plan
  • Contact
  • Blogs

การขออนุญาติก่อสร้างบ้าน

การขออนุญาติก่อสร้างบ้าน

การขออนุญาติก่อสร้างบ้าน

การขออนุญาติก่อสร้างบ้านนั้น จำเป็นต้องมี แบบบ้าน ที่แสดงรายละเอียดต่างๆ ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ/หรือ ประกาศ และ/หรือ ข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะปลูกสร้าง และลักษณะอาคาร ซึ่งการขออนุญาติก่อสร้างจะเป็นเรื่องของการเตรียมเอกสารทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุญาติกับสำนักงานเขต หรือเทศบาล หรือท้องถื่นในที่นั้นๆ โดยส่วนใหญ่ แบบบ้าน หรืออาคารทั่วไป ต้องมีสถาปนิก และวิศวกร เซ็นรับรองแบบ นอกจากบ้านที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตารางเมตร ก็ไม่จำเป็นต้องมีสถาปนิก และวิศวกร รับรองแบบแต่อย่างใด

"บ้านที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตารางเมตร ไม่จำเป็นต้องมีสถาปนิกและวิศวกรเซ็นต์รับรอง ก็สามารถยื่นขออนุญาติก่อสร้างได้"

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนยื่นขออนุญาติก่อสร้างประกอบด้วย

  • คำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือ รื้อถอนอาคาร (ข.1)
  • แบบก่อสร้างผังบริเวณและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
  • หนังสือรับรองของผู้ออกแบบ ทั้งสถาปนิก และ วิศวกร
  • สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3/สค.1 ที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 2 ชุด
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
  • รายการคำนวนโครงสร้าง 1 ฉบับ

จากนั้นนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อเทศบาล หรือสำนักงานเขต ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ ภายใน 45-60 วัน หากยังไม่ได้รับแจ้งความคืบหน้า ท่านสามารถติดตาม ผลได้ว่าเป็นอย่างไร ได้รับอนุญาตหรือไม่ ถ้ายังไม่ได้รับใบอนุญาตแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะแจ้งกลับมาว่าต้องแก้ไขอะไรบ้าง เมื่อแก้ไขถูกต้องแล้ว จะได้รับใบอนุญาตปลูกสร้าง และเสียค่าธรรมเนียมตามจำนวนตารางเมตร

ก่อนจะเริ่มขออนุญาต เจ้าของบ้านมือใหม่ควรสำรวจก่อนว่ามีปัญหาเหล่านี้รบกวนอยู่หรือไม่

หากต้องการปลูกบ้านในที่ดินของผู้อื่น ที่ดินซึ่งตัวคุณเองไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ อาจจะเป็นที่ดินของญาติมิตรที่รู้จัก หรือเป็นที่ดินซึ่งได้ทำสัญญาเช่าที่ดินไว้ หากต้องการปลูกบ้านหรือก่อสร้างบนที่ดินผืนนั้น คุณจำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดินเพื่อเป็นเอกสารในการขออนุญาตก่อสร้าง

หากจำเป็นต้องก่อสร้างชิดผนังอาคารเพื่อนบ้าน นื่องจากใช้ผนังร่วมกัน ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ รื้อถอนอาคารพาณิชย์เดิมแล้วสร้างใหม่ในสไตล์ของตัวเอง คุณจำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนังเพื่อป้องกันข้างบ้านแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาตรวจสอบ ซึ่งหากเกิดขึ้น...คุณอาจลำบากใจในการอยู่รวมกัน

หากต้องการปลูกบ้านชิดขอบเขตที่ดิน ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่า "ขอบเขตที่ดิน หรือ แนวเขตที่ดิน" เป็นเส้นแบ่งกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินของคุณและเพื่อนบ้านข้างเคียง จะมีการสร้างรั้วขึ้นมาแบ่งที่ดินหรือไม่ก็ตาม หากอาคารของคุณจะสร้างชิดขอบเขตที่ดิน คุณจำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน เพื่อเป็นเอกสารในการขออนุญาตก่อสร้าง และป้องกันปัญหาจุกจิกในอนาคต ในบางพื้นที่คุณอาจลักไก่สร้างได้แต่หากถูกตรวจสอบย้อนหลัง ในตอนนั้นคุณอาจต้องพึ่งทนาย

ผังบริเวณสำคัญมากต่อการอนุมัติก่อสร้าง ผังบริเวณของบ้านเป็นเอกสารหลักที่ทางสำนักงานเขตราชการที่พิจารณาอนุมัติออกใบอนุญาติให้คุณ เพียงแค่คุณให้ความสำคัญแก่ระยะย่นจากแนวเขตที่ดินและเรื่องสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการทิ้งน้ำเสียที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ทำสิ่งนี้ให้อยู่ภายในกฎหมายการควบคุมอาคารเพียงเท่านี้ก็จะไม่เกิดอุปสรรคต่อการสร้างบ้านในฝันของคุณแน่นอน

ห้ามละเลยการขออนุญาต การขออนุญาตก่อสร้างบ้านหรืออาคารต่างๆ นั้นเป็นขั้นตอนแรกในการเริ่มต้นก่อสร้างซึ่งเจ้าของบ้านต้องถือว่าเป็นหน้าที่และต้องปฏิบัติตามระเบียบในเรื่องนี้อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องเมื่อถูกตรวจสอบย้อนหลังจะมีความผิด จะมีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • Home
  • เรานำเสนอ
  • แบบของเรา
  • ข้อมูลติดต่อ
  • บล็อกบทความ

ASBUILD

ASBUILDเราให้บริการลูกค้าด้วยแบบบ้านที่มีคุณภาพและหลากหลาย เราตั้งปณิธานและมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์ในการช่วยเหลือลูกค้าของเราให้ดีเยี่ยมที่สุดในการเป็นเจ้าของบ้านในฝัน

contact
  • center@asbuild.net
  • as.arsrwth@gmail.com
โซเชียลมีเดีย
  • Facebook
  • Instagram
NEED HELP?
  • เงื่อนไขปรับแก้แบบบ้าน
  • เตรียมตัวสร้างบ้าน
  • การคัดเลือกผู้รับเหมา
  • ขออนุญาตก่อสร้างบ้าน
RECOMMEND
  • แบบบ้าน 2 ชั้น PT028
  • แบบบ้าน 1 ชั้น PT027
  • แบบบ้าน 1 ชั้น PT026
  • แบบบ้าน 2 ชั้น PT021
  • แบบบ้าน 2 ชั้น PT019
  • แบบบ้าน 2 ชั้น PT009

© 2022 ASBUILD. All Rights Reserved | Design by W3layouts